รู้จักโรคไข้แมวข่วน อาการขี้เล่นของแมวที่แฝงภัยเงียบไม่รู้ตัว

รู้จักโรคไข้แมวข่วน อาการขี้เล่นของแมวที่แฝงภัยเงียบไม่รู้ตัว

แมวนับสัตว์ประจำบ้านที่อยู่คู่กับคนเรามาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะรูปร่างหน้าตา รวมถึงอากัปกิริยาต่าง ๆ แมวนับว่าเป็นสัตว์ที่น่ารัก ร่าเริง ขี้เล่น และเป็นที่โปรดปรานของหลายๆ คนอย่างมาก แต่รู้หรือไม่ถ้าเราโดนแมวข่วน หากมองเผิน ๆ อาจจะมองว่าแมวของเรามีนิสัยขี้เล่น อาจข่วนเจ้าของบ้างเป็นธรรมดา แต่แท้จริงแล้วการที่แมวเผยกรงเล็บ และสัมผัสกับผิวจนเกิดบาดแผลนับว่าอันตรายอย่างมาก จะอันตรายอย่างไรนั้น บทความนี้มีคำตอบ

แมวข่วน แค่เล่นๆ หรือแท้จริงเป็นโรค?

แมวข่วน ไม่ใช่แค่เพียงการกระทำของแมวอย่างเดียวเท่านั้น แต่แมวข่วน สำหรับวงการแพทย์เรียกว่า ไข้แมวข่วน (Cat Scratch Fever) นับว่าเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อขนิดหนึ่ง ที่ส่งผลต่อผิวหนังโดยตรง หากปล่อยเรื้อรังไม่ทำการรักษา แผลอาจติดเชื้อจนอักเสบ และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ซึ่งอาจถึงขั้นลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด นับว่าเป็นอีกหนึ่งโรคอันตรายที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

อาการไข้แมวข่วนเป็นอย่างไร

ทาสแมวโดยทั่วไป มักไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคแมวข่วน ส่วนใหญ่หากโดนแมวข่วน หากแผลไม่ลึก หลาย ๆ คนมองเป็นเพียงแค่รอยถลอกเท่านั้น และคิดว่ามันจะหายเองได้ ไม่มีผลกระทบอะไร ขอบอกว่าคิดผิด เพราะนี่คือ โรคไข้แมวข่วนที่มาพร้อมอันตรายอย่างที่คุณคาดไม่ถึง และเมื่อติดเชื้อโรคนี้แล้ว ผู้ป่วยจะแสดงอาการดังนี้

1.อาการระยะแรก

หลังจากโดนแมวข่วน ส่วนใหญ่จะมีเพียงแค่รอยข่วนเท่านั้น ยังไม่ปรากฏอาการผิดปกติแต่อย่างใด

2.อาการระยะที่ 2

หลังจากถูกแมวข่วนอย่างน้อย 10 วัน บริเวณแผลรอยข่วน อาจมีตุ่มแดงเกิดขึ้น โดยลักษณะของตุ่มแดง หากกดหรือสัมผัสแรงอาจจะมีของเหลวไหลออกมา แต่ไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บปวดใด ๆ

3.อาการระยะที่ 3

หลังจากถูกแมวข่วนครบ 2 สัปดาห์ อาการตุ่มแดงจะหายไป แต่กลับแทนที่ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น มีไข้, วิงเวียนศีรษะอาจถึงขั้นปวดหัว มีอาการซึม ไม่แจ่มใส ประสบภาวะเบื่ออาหาร และต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติเนื่องจากภายในร่างกาย มีสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองโต อาจจะเกิดขึ้นบริเวณไหนของร่างกายก็ได้ โดยเฉพาะตำแหน่งของต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ หรือบริเวณที่ถูกแมวข่วนหรือกัด

ทำไมแค่แมวข่วน ถึงเสี่ยงอันตราย ?

เนื่องจากแมวมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ภายในร่างกายของมัน โดยแบคทีเรียชนิดนี้มักจะแอบอยู่บริเวณ ซอกเล็บ ซอกฟันของแมว ดังนั้น หากแมวข่วนหรือกัดโอกาสที่จะเกิดไข้แมวข่วนจึงมีสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว โดยเจ้าแบคที่เรียชนิดนี้ ค่อนข้างมีความพิเศษเล็กน้อย เนื่องจากเป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ แท้จริงแล้วแบคทีเรียชนิดนี้ มีต้นกำเนิดมาจากเห็บหมัดที่อยู่บนตัวแมว เมื่อแมวคันก็จะกัดเกาเลียข่วนบนขนของมันเพื่อกำจัดเห็บหมัดที่อยู่บนตัว ส่งผลทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในตัวเห็บแตกออกและกระจายเชื้ออยู่บริเวณเล็บ และฟันทันที ดังนั้น หากถูกแมวที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้ชนิดกัดหรือข่วน ควรทำความสะอาดแผลและพบแพทย์โดยด่วน

อาการของแมวที่ติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ

แมวที่มีเชื้อแบคทีเรียแกรมลบอยู่ในร่างกาย มักจะไม่มีส่งสัญญาณอาการใด ๆ แต่สามารถสังเกตได้จากเสียงลมหายใจของมัน หรือสามารถสังเกตได้จากดวงตาของมัน โดยเชื้อชนิดนี้มักจะแสดงอาการชัดเจนบริเวณ ดวงตา ปาก รวมถึงระบบขับถ่ายของแมว

แนวทางในการรักษาโรคไข้แมวข่วน

แพทย์จะวินิจฉัยโรคแมวข่วนหรือไข้แมวข่วน ด้วยการนำเลือดและน้ำในต่อมน้ำเหลืองไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว โดยการรักษาผู้ป่วยนั้นในระยะแรกแพทย์จะจ่ายยาแก้อักเสบไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บ และยับยั้งอาการติดเชื้อให้ก่อน หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะจ่ายยาปฏิชีวนะเพิ่ม เพราะโรคไข้แมวข่วน สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น แบคทีเรียลุกลามถึงกระดูก, ทำให้ดวงตาอักเสบ, มีผลต่อระบบประสาท หากแบคทีเรียลุกลามถึงระดับสมอง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากถูกแมวข่วน

1.หากถูกแมวข่วน ให้รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสบู่มี่มีฤทธิ์อ่อน ๆ แล้วล้างแผลให้สะอาด

2.ทำความสะอาดมือ หลังเล่นกับแมวก่อน-หลังทุกครั้ง

3.ตัดเล็บแมว และทำความสะอาดแมว เพื่อหลีกเลี่ยงเห็บหมัด

4.หากมีแผลบนร่างกาย ไม่ควรสัมผัสแมวหรือให้แมวเลียแผลเด็ดขาด

5.หลีกเลี่ยงการเล่นกับแมวจรจัด รวมถึงแมวของคุณเองด้วย

6.ตรวจสุขภาพแมวเป็นประจำ พร้อมทั้งควรพาน้องแมวเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ

โรคไข้แมวข่วน หรือโรคแมวข่วน สำหรับทาสแมวไม่ก็ไม่ต้องแพนิค (panic) ถึงแม้โอกาสที่จะหลีกเลี่ยงแมวข่วนหรือกัด อาจเป็นไปได้ยากก็จริง แต่ถ้าหากเพื่อน ๆ เข้าใจวิธีป้องกันและวิธีรักษา ไม่ใช่แค่แมวเท่านั้น แต่สัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็ยังเป็นสัตว์ที่ยังสามารถเลี้ยงได้เช่นเดิม แต่ควรทำความรู้จักโรคเกี่ยวกับสัตว์ เพียงเท่านี้เพื่อน ๆ ก็สามารถห่างไกลจากโรคไข้แมวข่วนได้ง่าย ๆ แล้ว