รู้จักโรคติดต่อทางพันธุกรรม พร้อมวิธีรับมือไม่ให้ทารกรับผลกระทบรุนแรง

รู้จักโรคติดต่อทางพันธุกรรม พร้อมวิธีรับมือไม่ให้ทารกรับผลกระทบรุนแรง

โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็นโรคที่ติดต่อจากพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมจากพ่อแม่ หรือพ่อแม่มีโรคประจำตัวที่สามารถทำให้ติดต่อไปสู่ลูกที่อยู่ในครรภ์ได้ ก็จะส่งผลให้โรคนั้นเกิดขึ้นกับลูกได้นั่นเอง โดยโรคติดต่อทางพันธุกรรมนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่มีวิธีการป้องกันและรักษาให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรคติดต่อทางพันธุกรรม ว่ามีวิธีการป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายที่รุนแรง

โรคติดต่อทางพันธุกรรมคืออะไร มีโรคอะไรบ้าง?

โรคติดต่อทางพันธุกรรม คือโรคที่พ่อแม่เป็นพาหะนำโรคแล้วติดไปถึงลูกจากการตั้งครรภ์ ซึ่งโรคติดต่อทางพันธุกรรมก็มีด้วยกันหลากหลายโรค โดยโรคที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • โรคธาลัสซีเมีย
  • โรค hemophilia
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคลูคีเมีย
  • โรคเบาหวาน
  • โรคตาบอดสี
  • โรคดาวน์ซินโดรม
  • โรคถุงน้ำในไต
  • โรคประสาทชักกระตุก

และยังมีโรคอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดต่อทางพันธุกรรม ทำให้ติดต่อไปสู่ลูก ซึ่งหากพ่อแม่ท่านใดที่มีพาหะและต้องการที่จะมีบุตรจริงๆ ก็ควรที่จะไปปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

วิธีป้องกันไม่ให้โรคติดต่อทางพันธุกรรมส่งผลต่อบุตร

ถึงแม้ว่าโรคติดต่อทางพันธุกรรมจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความร้ายแรงไปสู่ลูกได้ ซึ่งมีแนวทางในการป้องกันดังต่อไปนี้

1.ปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนตั้งครรภ์

พ่อและแม่หากตรวจพบว่าตนเองมีพาหะของโรคติดต่อทางพันธุกรรม ที่อาจส่งผลไปถึงลูก ก่อนการตั้งครรภ์ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ หรือตรวจหาโรคอื่นๆ ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อทางพันธุกรรม เพื่อความปลอดภัยของเด็กในท้องนั่นเอง

2.พบแพทย์เพื่อดูแลควบคุมโรค กรณีตั้งครรภ์ไปแล้ว

พ่อและแม่หากพบว่าตนเองมีการตั้งครรภ์ โดยที่ทั้งสองมีพาหะของโรคติดต่อทางพันธุกรรมแล้วนั้น ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขที่ถูกต้อง ซึ่งแนวทางในการแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยของเด็กในครรภ์ ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้

3.รีบนำเด็กมาเข้ารับการรักษา กรณีคลอดแล้ว

หากตรวจพบภายหลังการคลอดบุตร ว่าเด็กมีพาหะของโรคติดเชื้อทางพันธุกรรมที่ได้รับมาจากพ่อหรือแม่ ให้รีบนำเด็กมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและป้องกันที่จะทำให้เกิดโรคร้ายแรงภายในอนาคต

4.หากแม่เป็นเบาหวานควรควบคุมน้ำหนัก

ในกรณีที่ตรวจพบภายหลังว่าแม่เป็นโรคเบาหวาน ให้มารดาควบคุมน้ำหนัก หรือรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อเด็กในท้อง และหลังจากที่คลอดทารกออกมา ควรให้แพทย์ทำการรักษา และควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินของทารกอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กในอนาคต

เมื่อตั้งครรภ์และพบว่ามีโรคติดต่อทางพันธุกรรมจะรับมืออย่างไร?

1.แพทย์อาจจะทำการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดต่อทางพันธุกรรม ซึ่งจะเป็นผลทำให้เด็กมีอันตรายได้

2.ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีภาวะที่เกิดขึ้นกับโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่รุนแรง เป็นผลทำให้เด็กในครรภ์หรือมารดาเสี่ยงอันตรายมากจนเกินไป แพทย์อาจจะรักษาด้วยวิธีการนำเด็กออก เพื่อรักษาชีวิตของแม่ไว้

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง และควรวางแผนการตั้งครรภ์

สำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางพันธุกรรม ที่ควรวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีบุคคลดังต่อไปนี้

  • หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ต้องการมีบุตร
  • ผู้ที่เคยมีประวัติการแท้งมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัวที่ทำให้สามารถติดต่อไปสู่บุตรได้
  • ผู้ที่ใช้ยาหรือดื่มแอลกอฮอล์จัด
  • ผู้ที่มีความเครียด ความกังวล หรือมีภาวะวิตกกังวลอย่างหนัก
  • บุคคลที่เคยได้รับสารเคมีอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้
  • ทางด้านปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องการปรึกษาแพทย์ก่อนการวางแผนการตั้งครรภ์

โรคติดต่อทางพันธุกรรม ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่เราสามารถที่จะป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความร้ายแรงหรือเกิดการติดต่อไปสู่บุตรได้ ด้วยวิธีการปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวางแผนในการตั้งครรภ์ให้ดี และให้มีความปลอดภัย ซึ่งถ้าหากโรคชนิดใดที่มีความร้ายแรงมาก แพทย์ก็จะให้คำแนะนำ หรือหาวิธีวางแผนการตั้งครรภ์ในรูปแบบต่างๆ ให้กับเราได้อย่างถูกต้อง และถ้าหากเราไม่อยากให้โรคต่างๆ ติดต่อหรือแพร่ไปสู่ลูกของเรานั้น หากพบว่าตนเองมีความผิดปกติทางร่างกายหรือมีพาหะของโรค ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่เช่นนั้น ทารกที่คลอดออกมา อาจจะมีสุขภาพที่ไม่ดี เจ็บป่วยได้ง่ายหรือส่งผลรุนแรงถึงทำให้ทารกเกิดความพิการ และอาจส่งผลในระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้อันตรายถึงแม่ได้นั่นเอง