สัญญาณเตือนกินยามาก โปรตีนรั่ว อาจฉี่เป็นฟองได้

สัญญาณเตือนกินยามาก โปรตีนรั่ว อาจฉี่เป็นฟองได้

การฉี่เป็นฟองอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งถ้าเป็นการฉี่แล้วเกิดฟองทั่วไป จะมาจากการกักเก็บปัสสาวะไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อขับถ่ายปัสสาวะออกจึงเกิดเป็นแรงดันสูง น้ำปัสสาวะกระทบกับโถของสุขภัณฑ์ จึงทำให้กลายเป็นฟองได้ แต่ทั้งนี้จะต้องดูด้วยว่าฟองนั้นหายไปอย่างรวดเร็วหรือไม่? และมีสีของปัสสาวะเป็นอย่างไร? เพราะอาจกลายเป็นสัญญาณเตือนของภาวะดูดไขมันอื่น ๆ ที่มากกว่าการปัสสาวะออกมาตามปกติ

ทำไมกินยามากเกินไป จึงทำให้ฉี่เป็นฟองได้  

หนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคร้ายจากการฉี่เป็นฟองที่ถือว่าน่ากลัวพอสมควร คือ การเสี่ยงโรคไตจากการใช้ยามากเกินไป  โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้อักเสบ, ยาลดอาการไข้และหวัด, ยาความดัน ที่ถูกพบว่าผู้ป่วยไตเสื่อมในจำนวน 5-10 เปอร์เซ็นต์ มีปัจจัยของการใช้ยาทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นในปริมาณมาก ทั้งนี้แม้แต่ยาบำรุงหรืออาหารเสริมต่าง ๆ ก็อาจพาเสี่ยงต่อปัญหาฉี่เป็นฟองจากภาวะโรคไตได้เช่นกัน การใช้ยาจึงจำเป็นต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและผ่านการดูแลจากแพทย์เท่านั้น  โดยมีผลงานวิจัยจากทางโรงพยาบาลศิริราชที่ได้แนะนำไว้ เรื่องการเตือนผู้ป่วยโรคไตเลี่ยงการใช้ยา 3 ประเภท คือ ยาแก้ปวด ลดไข้ ยาลดน้ำมูก, ยาแก้อักเสบ และยาลดความดัน

โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัย 40 ปีขึ้นไป จำเป็นต้องตรวจเช็คสภาพไตอยู่เสมอและไม่ควรรับประทานยาใน 3 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นต่อเนื่องมากเกินไป แม้ว่าโอกาสของการเกิดฉี่เป็นฟองจากการรับประทานยาที่มากเกินไป จะมีเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเป็นความน่ากลัวของผู้ที่ชอบรับประทานยา โดยไม่ผ่านทางแพทย์สั่ง แต่เป็นการซื้อยากินเองอย่างมากเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคไต จะมีอาการเด่น คือ เกิดอาการบวมที่บริเวณหนังตาหลังการตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน มีปัสสาวะเป็นฟองและฟองนี้จะอยู่ได้ค่อนข้างนาน เกิดการปวดปัสสาวะช่วงกลางคืนบ่อยครั้ง มีอาการปวดหลัง และอาจจะเกิดผิวแห้งดำคล้ำลง

ภาวะโปรตีนรั่วในเด็ก อาจมีสัญญาณเตือนจากฉี่เป็นฟอง!

ภาวะโปรตีนรั่วในเด็ก เป็นอีกหนึ่งโรคน่ากลัวที่มาพร้อมกับสัญญาณเตือนอย่างฉี่เป็นฟองด้วยเช่นกัน โดยจะมีอาการชัดเจน คือ หนังตาด้านบนจะบวม ช่วงบริเวณขา เท้า และลำตัวเกิดอาการบวมขึ้นผิดปกติ ปัสสาวะออกมาเป็นฟองจำนวนมาก ซึ่งโปรตีนที่รั่วออกมานั้นจะปนเปื้อนมากับปัสสาวะและทำให้กลายเป็นฟองจำนวนมาก โปรตีนชนิดนี้คือเนฟโฟรติกที่จะมีภายในเด็ก และมีการเรียกปัสสาวะเป็นฟองในประเภทที่โปรตีนเนฟโฟรติกรั่วไหลออกมาว่าไข่ขาวรั่ว อาการที่ชัดเจนที่สุด คือ การตรวจระดับโปรตีนในเลือดแล้วพบว่าโปรตีนต่ำลง แต่กลับมีไขมันหรือคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นมาแทน

พร้อมอาการฉี่เป็นฟองจำนวนมาก มีอาการท้องบวม ขาบวม เท้าบวม ที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่จะบวมมากผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็กไปจนถึงวัยรุ่น แต่ที่จะพบได้บ่อยครั้ง คือ เด็กในช่วงวัย 1-8 ปี สาเหตุของการเกิดโรคจะแตกต่างกันออกไป โดยส่วนมากแล้วจะพบการอักเสบของเส้นเลือดฝอยที่บริเวณหน่วยกรองไต ทำให้เกิดการรั่วของโปรตีนชนิด Albumin ที่มีส่วนสำคัญต่อร่างกาย สัญญาณเตือนออกมาเป็นปัสสาวะที่มีฟองจำนวนมาก เป็นเพราะโปรตีนต่าง ๆ กลับรั่วออกมาจนถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้มากพอสมควร

สำหรับในวัยผู้ใหญ่แล้ว อาจเกิดภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเกิดกับผู้ที่มีปัญหาโรคเบาหวาน, ความดัน, ติดเชื้อ, เกิดภาวะแพ้ภูมิตัวเองหรือโรค SLE, การใช้ยา หรือการมีสารเคมีและโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ภายในเลือด ถ้าเมื่อใดที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจะมีอาการบวมที่บริเวณท้องกับอวัยวะเพศอย่างเด่นชัด มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีน้ำที่บริเวณช่องปอดกับช่องท้องจำนวนมาก เกิดไขมันและคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานอาจเกิดการไม่ตอบสนองต่อการรักษาได้

เมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษา จะส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจเกิดการอุดตัน, เลือดเหนียวข้น และเสี่ยงต่อการอุดตันของเส้นเลือดในบริเวณอื่น ๆ มากขึ้น เกิดการติดเชื้อแบบซ้ำซ้อน ติดง่ายและรุนแรง มีภาวะความดันโลหิตต่ำร่วมด้วย เมื่ออาการเริ่มสูงขึ้นการปัสสาวะจะเริ่มออกมาน้อยหรือไม่ออกเลย และกลายเป็นภาวะไตวายเฉียบพลัน สำหรับผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ควรต้องมีการติดตามผลอยู่เสมอและมีผู้ดูแลใกล้ชิด เพื่อช่วยในเรื่องของการเตือนด้านการปฏิบัติตัว การดูแลเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม การใช้ชีวิต และการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงขั้นหมดสติ จะต้องรีบพาส่งแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ส่วนการรักษาอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ จะมีการใช้ยาสเตียรอยด์ที่ถือเป็นมาตรฐานของการรักษาและจะต้องผ่านการพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ จากทางแพทย์ เพราะการรักษาจะต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน แล้วจะต้องมีการเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนใด ๆ ขึ้น มีการใช้ยากดภูมิคุ้มกันที่ไม่ใช่กลุ่มของสเตียรอยด์เพื่อลดอาการข้างเคียง มีการใช้ยาขับปัสสาวะทั้งแบบฉีดและทาน มีการให้โปรตีนชนิดอัลบูมินผ่านทางเส้นเลือดร่วมกับการใช้ยาขับปัสสาวะ

กลุ่มของผู้ที่เป็นแล้วทราบสาเหตุจะมีการรักษาตามอาการ โดยส่วนใหญ่แล้วการตอบสนองต่อการรักษาในวัยเด็กจะมีมากถึง 80% ทั้งนี้ถ้าเกิดการรักษาจนอาการดีขึ้นและควบคุมอาการได้ กลุ่มเด็กจะมีการกลับมาเป็นซ้ำได้ประมาณ 50%  และอาจจะกลับมาเป็นได้ซ้ำอีก 2-3 ครั้ง แต่เมื่อใดที่เริ่มเติบโตขึ้นและเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ความรุนแรงของโรคจะลดลงและค่อย ๆ จางหายไปตามเวลา