ยาขยายหลอดลม แบบไหนได้ผลมากกว่ากัน

ยาขยายหลอดลม แบบไหนได้ผลมากกว่ากัน?

โรคหอบหืดกับยาขยายหลอดลมมักจะมาคู่กันเสมอ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่ออกของผู้ป่วย ให้กลับมาเป็นปกติได้ โดยยาขยายหลอดลมจะมีให้เลือก 3 ประเภท ได้แก่ ยาขยายหลอดลมแบบพ่น,  ยาขยายหลอดลมแบบฉีด  และยาขยายหลอดลมแบบกิน ผลลัพธ์ของยาทั้ง 3 แบบนี้ คือ ช่วยขยายหลอดลมให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากขึ้นเหมือนกัน แต่ทำไมต้องแยกประเภท? วันนี้เราจะพาทุกคนไปไขความจริงให้กระจ่าง

โรคหอบหืดกับยาขยายหลอดลม

โรคหอบหืดเกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อบุหลอดลม ทำให้หลอดลมมีความบอบบางและไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ง่าย  โดยปัจจัยกระตุ้นมีหลากหลายประเภท เช่น ความเครียด, สภาพอากาศ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หากสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลมก็จะเกิดอาการหดเกร็ง มีเสมหะที่ถูกสะสมอยู่ในผนังหลอดลมบวมขึ้น และหนามากยิ่งขึ้นขณะเกิดอาการ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อย, หอบ, หายใจไม่ทัน หากอาการไม่ทุเลาลงอาจอันตรายถึงชีวิต! และหากอาการกำเริบบ่อยครั้ง จะส่งผลให้การทำงานของปอดมีประสิทธิภาพลดลง

สิ่งที่ผู้ป่วยหอบหืดต้องพกติดตัวไว้ตลอด คือ ยาขยายหลอดลม ที่จะช่วยให้ปอดคลายตัว ลดอาการอักเสบของหลอดลม  จึงทำให้หายใจได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยสามารถแบ่งยาสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาบรรเทาอาการและยาลดอาการอักเสบ ดูดไขมัน โดยได้แบ่งการใช้งานไว้ 3 รูปแบบหลัก ดังนี้

1.ยาขายหลอดลมแบบพ่น

ยาขายหลอดลมแบบพ่น สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ ยาพ่นแบบก๊าซและยาพ่นแบบผง ในปัจจุบันวงการแพทย์กำลังพยายามลดการใช้ยาพ่นแบบก๊าซ เพราะมีการวิจัยมาแล้วว่ามีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ชั้นโอโซนในอากาศเสียสมดุล  ส่งผลกระทบมายังสุขภาพของประชากร ส่วนยาพ่นแบบผงสามารถใช้ได้ง่าย สะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่จะมีราคาสูงกว่ายาพ่นแบบก๊าซ

2.ยาขยายหลอดลมแบบกิน

ยาขยายหลอดลมแบบกิน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ ยาน้ำและยาเม็ด ข้อดีของยาขยายหลอดลมแบบกิน คือ ราคาประหยัด แต่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ หรืออาจจะส่งผลกระทบให้ใจสั่น แต่สามารถออกฤทธิ์ได้ดี

3.ยาขยายหลอดลมแบบฉีด

ข้อดีของยาขยายหลอดลมแบบฉีด คือ ออกฤทธิ์เร็ว มักใช้ในผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน เพราะมีผลข้างเคียงสูง อาจจะทำให้ผู้ป่วย คลื่นไส้, อาเจียน หรือใจสั่นได้เช่นเดียวกับยากิน

ใช้ยาขยายหลอดลมบ่อยครั้ง อันตรายหรือไม่?

ยาขยายหลอดลมมีให้เลือกหลายประเภท ไม่ควรเลือกใช้ยาด้วยตนเอง แต่ควรให้แพทย์แนะนำตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ยาที่มีผลข้างเคียงน้อยหรือแทบไม่มีเลย คือ ยาพ่น ไม่มีอันตรายใด ๆ เพราะยาพ่นจะออกฤทธิ์บริเวณหลอดลมโดยตรง ถึงใช้บ่อยก็ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ส่วนยากินและยาฉีดมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น คลื่นไส้และอาเจียน บางรายอาจจะมีอาการมือสั่นและใจสั่น หากกินบ่อยครั้งอาจจะส่งผลกระทบต่อตับ และไต เพราะระหว่างที่กินร่างกายจะทำการดูดซึมสารต่าง ๆ ไปด้วย ซึ่งการกินและฉีดยา จำเป็นต้องให้แพทย์จัดสรรความเหมาะสม โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของยาตามความรุนแรงของอาการ จึงเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ยาไปเรื่อย ๆ

ถ้าไม่อยากอาการกำเริบ สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

ถ้าคุณเป็นโรคหอบหืดที่ต้องใช้ยาขยายหลอดลมเป็นประจำ และไม่ต้องการให้เกิดอาการกำเริบ สามารถใช้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการไม่ดีได้ ดังนี้

  • ตรวจสอบสารกระตุ้น แพทย์จะทำการทดสอบสารกระตุ้นที่จะทำให้ร่างกายกำเริบ เช่น อาหาร, สารเคมี หรือ เกสรดอกไม้ เป็นต้น เมื่อรู้แล้วว่าสารกระตุ้นอาการของตนเองคืออะไร ให้หลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสสิ่งเหล่านั้น
  • งดการออกกำลังหนัก เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ปอดทำงานหนักขึ้น อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ เกิดอาการแน่นอนหน้าอก หายใจติดขัดได้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด แนะนำให้ออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น การเดินและการเล่นโยคะ เป็นต้น
  • ลดความเครียด ซึ่งความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการกำเริบได้ ผู้ป่วยสามารถลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น หรือใครที่มีปัญหาความเครียดสะสมแนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อรักษา
  • สภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว อาการของผู้ป่วยจะกำเริบง่ายมากขึ้น แนะนำให้ผู้ป่วยทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการมีเสมหะ เป็นหวัด หรือเป็นไซนัส
  • ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด จำเป็นต้องรักษาความสะอาดภายในบ้าน เพราะฝุ่นละอองจากเฟอร์นิเจอร์ก็อาจจะทำให้อาการกำเริบได้

โรคหอบเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกเพศ ทุกวัย อีกทั้งยังเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นยากิน ยาพ่น หรือ ยาฉีด ก็สามารถรักษาและบรรเทาอาการหอบหืดได้เช่นเดียวกัน การใช้ยาขยายหลอดลมแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด กินยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะอาจจะทำให้อาการทรุดลงได้